1. NPU MODEL ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
2. NPU MODEL นางสาวอสิตา
พรมเวหา
3. อธิบาย NPU MODEL
Need Analysis
การวิเคราะห์ความต้องการ (Need Analysis) ความต้องการ (Need) คือ ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่คาดหวังให้เป็นไป เช่น
ความแตกต่างระหว่างผลงานที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลท าออกมากับมาตรฐานที่ก าหนด
ความไม่เหมือนกันของ สิ่งที่บุคคลผู้หนึ่งมีกับสิ่งที่ผู้ต้องการอยากให้มี
การวิเคราะห์ความต้องการจึงเป็นการหาให้พบว่า
กลุ่มบุคคลเป้าหมายปฏิบัติงานได้ต่างกว่าระดับที่องค์การต้องการ (Gap) เพียงใด เป็นการวิเคราะห์ว่าบุคลากรกลุ่มเป้าหมาย ที่ศึกษานั้น
ได้ปฏิบัติงานได้ถึงระดับที่องค์กรต้องการหรือไม่ ทั้งโดยชนิด ปริมาณงาน
คุณภาพของงาน
ความต้องการเหล่านี้สามารถใช้วิธีใดพัฒนาให้ดีขึ้นมาอยู่ในระดับที่องค์การต้องการ
เช่น ด้วยการฝึกอบรมบุคลากร ที่เกี่ยวข้อง หรือด้านการพัฒนากระบวนการท างาน
หรือด้วยการจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือเพิ่มเติม หรือด้วยการ พัฒนาทางการบริหารอื่น ๆ
สำหรับความต้องการขององค์การที่สามารถตอบสนองได้
ด้วยการจัดการฝึกอบรมให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง เรียกว่า ความจ
าเป็นในการฝึกอบรม (Training Needs) ซึ่งจะได้มาจากกระบวนการวิเคราะห์ความต้องการ ความจ
าเป็นในการฝึกอบรมนี้เมื่อวิเคราะห์จากข้อมูลที่รวบรวมก็สามารถค้นหาเป้าหมายในการฝึกอบรม
(Instructional Goals) ที่จะสนองความต้องการจากข้อมูลที่มีอยู่เพื่อประกอบการก
าหนดแผนและหลักสูตรฝึกอบรม ให้แก่บุคลากรในองค์การที่เกี่ยวข้องต่อไป
Praxis
สมิธ (Smith, M.K. 1996) ได้ให้แนวคิดในการนิยาม “หลักสูตร” ตามทฤษฏีและการปฏิบัติหลักสูตร
มี 4 ทิศทางดังต่อไปนี้
1.หลักสูตรเป็นองค์ความรู้ที่จะส่งผ่านให้ผู้เรียน
2.หลักสูตรเป็นความพยายามที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์
3.หลักสูตรเป็นกระบวนการd
4.หลักสูตรเป็น Praxis หมายถึง
การปฏิบัติของมนุษย์และความเข้าใจในการปฏิบัตินั้น
Understanding
ในการดำเนินชีวิตประจำวันเกี่ยวข้องกับการรู้ (to know) และการรับรู้ (perception) โดยมีประสาท
สัมผัสทั้งห้า และใจเป็นตัวรู้อารมณ์ และน
าไปสู่ความรู้สึกและความเข้าใจ ดังนั้นการแสดงอาการความเข้าใจโดยการตอบรับด้วยอาการ
ผยักหน้า หรือส่งเสียงบอกให้ทราบอย่างใด อย่างหนึ่ง ครับ คะ โอเค ในภาษาอังกฤษ
ก็คือ yes , ok, I see
, I get ที่กล่าวมาเป็นการรับรู้และเข้าใจ อาจจะมาจากค าถามว่า
รู้เรื่องไหม เข้าใจไหม รู้หรือเปล่า ซึ่งบางครั้งมีความหมายไปในทางที่การรู้อย่างเดียวก็อาจไม่เข้าใจก็ได้เช่นรู้แต่ทำไม่ได้ปฏิบัติไม่ได้
ดังนั้นความเข้าใจจึงมีหลายระดับ I see อาจเป็นความเข้าใจที่ผิวเผิน
กว่า I get ยังมีความเข้าใจที่น
ามาใช้เป็นทางการมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่คำว่า comprehension กับคำว่า understanding เป็นค
าที่มีความหมายเดียวกันแต่ค าว่า understand จะใช้ในภาษาพูดมากกว่า comphehension นั้นเป็นการสร้างความหมาย (construction of meaning) ในแง่นี้การสร้างความหมายของแต่ละคนก็อาจแตกต่างกันไปก็คือเข้าใจแตกต่างกันไปด้วยในแต่ละคน
ส่วนคำว่า understanding เป็นความเข้าใจที่ต้องใช้ความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วมาช่วยในการสร้างความรู้ใหม่ที่มีความหมายไปไกลกว่าสารสนเทศที่ให้มาหรือที่ได้รับมาและความรู้พื้นฐาน
(ความรู้ที่มีอยู่เดิม) ซึ่งน
ามาเป็นหลักฐานในการสร้างความรู้ใหม่มากกว่าที่จะดึงเอามาจากความจำประจำตั
Research-Based
Learning (RBL)
นิยามของการจัดกำรศึกษาแบบRBL
การเรียนรู้เป็นการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วยการก
าหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้
การจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์เรียนรู้การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเกี่ยวข้องการทั้งกระบวนการเรียนและการสอน
การเรียนนั้นเป็นบทบาทของผู้เรียนส่วนการสอนเป็นบทบาทของผู้สอน การเรียนรู้แบบ RBLเป็นการจัดการเรียนการสอนที่น า “การวิจัย” เข้ามาเป็นเครื่องมือของการจัดการเรียนการสอน
ลักษณะสำคัญของการจัดการศึกษาแบบ RBL
ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบ RBL มีดังนี้ คือ
หลักการที่1. แนวคิดพื้นฐาน เปลี่ยนแนวคิดจาก’เรียนรู้โดยการฟัง/ตอบให้ถูก’ เป็น ‘การถาม/หา
คำตอบเอง’
หลักการที่2. เป้าหมาย เปลี่ยนเป้าหมายจาก’การเรียนรู้โดยการจำ/ทำ/ใช้’ เป็นการคิด/ค้น/แสวงหา’
หลักการที่3. วิธีสอน เปลี่ยนวิธีสอนจาก’ การเรียนรู้โดยการบรรยาย’ เป็น ‘การให้คำปรึกษา’
หลักการที่4. บทบาทผู้สอน เปลี่ยนบทบาทผู้สอนจาก’ การเป็นผู้ปฏิบัติเอง’ เป็น ‘การจัดการให้ผู้เรียนปฏิบัติ
4. อธิบาย N P U
N = Planing
วางแผนเขียนเป็นปรัชญา / วิสัยทัศน์/พันธกิจ / จุดหมายของหลักสูตร
/ ส่วนนี้คือ creativity ที่เป็น planning
วิจารณ์
พานิช (2555) กล่าวว่า
ศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19 ระบบการศึกษา
ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง ในประเทศสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่อง
"ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21"ได้ถูกพัฒนาขึ้น
หน่วยงานต่างๆ
มีความกังวลและเห็นความจำเป็นที่เยาวชนจะต้องมีทักษะสำหรับการดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่21
ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยครูต้องเปลี่ยนเป้าหมายการเรียนรู้ของศิษย์
จากเน้นเรียนวิชาเพื่อได้ความรู้ ให้เลยไปสู่การพัฒนาทักษะที่สำคัญต่อชีวิตยุคใหม่
โดยการเรียนรู้ยุคใหม่ ต้องเรียนให้เกิดทักษะ เพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่21
โดยหน้าที่ของครูได้เปลี่ยนไป จากการเน้น "สอน"
ไปทำหน้าที่จุดประกายความสนใจใฝ่รู้ โดยให้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ (learning
by doing) จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่
21 ขึ้น สามารถสรุปทักษะสำคัญ ที่เด็กและเยาวชนควรมี ซึ่งได้แก่ การเรียนรู้ 3R
x 7C
3R
x 7C
ทักษะของคนในศตวรรษที่ ๒๑
ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย และตลอดชีวิต คือ 3R x 7C
3R ได้แก่
Reading (อ่านออก)
(W)Riting (เขียนได้)
(A)Rithmetics (คิดเลขเป็น)
7c ได้แก่
1. Critical
thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิด
อย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
2. Creativity &
innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
3. Cross-cultural
understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่าง
วัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
4. Collaboration,
teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ
การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
5. Communications,
information & media literacy (ทักษะด้าน
การสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
6. Computing &
ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร)
7. Career &
learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ คือ การเรียนรู้ 3R x 7Cครูเพื่อศิษย์เองต้องเรียนรู้
3R x 7C และต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต
แม้เกษียณอายุจากการเป็นครูประจำการไปแล้ว เพราะเป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตของตนเอง
ระหว่างเป็นครูประจำการก็เรียนรู้สำหรับเป็นครูเพื่อศิษย์ และเพื่อการดำรงชีวิตของตนเอง
P = Generating
ออกแบบและจัดหลักสูตร (design & organize ) เขียนเป็นสาระในหลักสูตร
วิชาบังคับ วิชาเลือก / ความรู้ ทักษะ สมรรถนะ เมื่อจบหลักสูตร / creativity
= generating การทำให้หลักสูตรปรากฏ มีขึ้น /
กรณีนี้อาจเขียนเป็น course syllabus
"สรุปหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551"
U = Producing ปฏิบัติ
หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี พุทธศักราช ๒๕๕๑
ตามแนวทางหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ โรงเรียนเทศบาลวัดศรีสมบูรณ์ กองการศึกษาเทศบาลเมืองปากพนัง อำเภอปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราช กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย
วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับท้องถิ่นเทศบาลเมืองปากพนัง
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับท้องถิ่นเทศบาลเมืองปากพนัง มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน
ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก
ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน
รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาการประกอบอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต
โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า
ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
วิสัยทัศน์หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดศรีสมบูรณ์
หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดศรีสมบูรณ์ มุ่งพัฒนานักเรียนมีความรู้คู่คุณธรรม ดำเนินชีวิตในสังคมอย่างมีความสุขภายใต้สุขภาพอนามัยที่ดี มีทักษะพื้นฐานในการศึกษาต่อ รักความเป็นไทย ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาไทย
ภารกิจและเป้าหมายโรงเรียนเทศบาลวัดศรีสมบูรณ์
ภารกิจ
โรงเรียนเทศบาลวัดศรีสมบูรณ์ มุ่งพัฒนาการจัดการศึกษาตามวิสัยทัศน์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและหลักสูตรของสถานศึกษาให้มีคุณภาพ จึงได้กำหนดภารกิจการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ดังนี้
๑. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรม สืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีไทย รู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
๑. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรม สืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีไทย รู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
๒. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ
มีทักษะและศักยภาพในการศึกษาต่อ เจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ
๓. ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
และการทำงานเป็นทีม
๔.
ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ปลูกฝังจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็น
พลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เป้าหมาย
โรงเรียนเทศบาลวัดศรีสมบูรณ์ มุ่งพัฒนาการจัดการศึกษาตามวิสัยทัศน์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและหลักสูตรของสถานศึกษาให้มีคุณภาพ จึงได้กำหนดเป้าหมายการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ดังนี้
๑. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๑. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๒.
ผู้เรียนมีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีความรู้อันเป็นสากลและมีความสามารถในการสื่อสาร
การคิด การแก้ปัญหาการใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต สามารถนำความรู้ไปศึกษาต่อและประกอบอาชีพพื้นฐาน
๓. ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
๔. ผู้เรียนมีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๕. ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม
และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
๖. ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาและเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารได้
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดศรีสมบูรณ์ ได้กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนโดยใช้แนวทางของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ซึ่งมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้
๑. รักชาติ
ศาสน์ กษัตริย์
๒. ซื่อสัตย์สุจริต
๓. มีวินัย
๔. ใฝ่เรียนรู้
๕. อยู่อย่างพอเพียง
๖. มุ่งมั่นในการทำงาน
๗. รักความเป็นไทย
๘. มีจิตสาธารณะ
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ทำไมต้องเรียนการงานอาชีพและเทคโนโลยี
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเป็นกลุ่มสาระที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียน มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการดำรงชีวิต
การอาชีพ และเทคโนโลยี มาใช้ประโยชน์ในการทำงาน อย่างมีความคิดสร้างสรรค์
และแข่งขันในสังคมไทยและสากล เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ
รักการทำงาน และมีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน
สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างพอเพียงและมีความสุข
เรียนรู้อะไรในการงานอาชีพและเทคโนโลยี
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
มุ่งพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ
มีทักษะในการทำงาน เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
• การดำรงชีวิตและครอบครัว
เป็นสาระเกี่ยวกับการทำงานในชีวิตประจำวัน การช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว
และสังคมได้ในสภาพเศรษฐกิจที่พอเพียง ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เน้นการปฏิบัติจริงจนเกิดความมั่นใจและภูมิใจในผลสำเร็จของงาน
เพื่อให้ค้นพบความสามารถ ความถนัด
และความสนใจของตนเอง
• การออกแบบและเทคโนโลยี
เป็นสาระเกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถของมนุษย์อย่างสร้างสรรค์
โดยนำความรู้มาใช้กับกระบวนการเทคโนโลยี สร้างสิ่งของเครื่องใช้ วิธีการ หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการดำรงชีวิต
• เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เป็นสาระเกี่ยวกับกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ การติดต่อสื่อสาร การค้นหาข้อมูล
การใช้ข้อมูลและสารสนเทศ การแก้ปัญหาหรือ
การสร้างงาน คุณค่าและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
• การอาชีพ
เป็นสาระเกี่ยวกับทักษะที่จำเป็นต่ออาชีพ เห็นความสำคัญของคุณธรรม จริยธรรม
และเจตคติที่ดีต่ออาชีพ ใช้เทคโนโลยีได้เหมาะสม
เห็นคุณค่าของอาชีพสุจริต และเห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ
คุณภาพผู้เรียนเมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
• เข้าใจกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงาน
มีทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาและทักษะการจัดการ
มีลักษณะนิสัยการทำงานที่เสียสละ มีคุณธรรม
ตัดสินใจอย่างมีเหตุผลและถูกต้อง และมีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน
ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างประหยัดและคุ้มค่า
• เข้าใจกระบวนการเทคโนโลยีและระดับของเทคโนโลยี มีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ สร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการตามกระบวนการเทคโนโลยี อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยถ่ายทอดความคิดเป็นภาพฉายเพื่อนำไปสู่การสร้างชิ้นงานหรือแบบจำลองความคิดและการรายงานผล
เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม
สิ่งแวดล้อม
และมีการจัดการเทคโนโลยีด้วยการลดการใช้ทรัพยากรหรือเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม
• เข้าใจหลักการเบื้องต้นของการสื่อสารข้อมูล เครือข่ายคอมพิวเตอร์
หลักการและวิธีแก้ปัญหา หรือการทำโครงงานด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
มีทักษะการค้นหาข้อมูล และการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม
การใช้คอมพิวเตอร์ในการแก้ปัญหา สร้างชิ้นงานหรือโครงงานจากจินตนาการ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองาน
• เข้าใจแนวทางการเลือกอาชีพ
การมีเจตคติที่ดีและเห็นความสำคัญของการประกอบอาชีพ วิธีการหางานทำ
คุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับการมีงานทำ วิเคราะห์แนวทางเข้าสู่อาชีพ
มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพ และประสบการณ์ต่ออาชีพที่สนใจ
และประเมินทางเลือก ในการประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับความรู้ ความถนัด และความสนใจ
สาระที่ ๑
การดำรงชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน ง๑.๑
เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน
และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
ตัวชี้วัดชั้นปี
|
||
ม.
๑
|
ม.
๒
|
ม.
๓
|
๑. วิเคราะห์ขั้นตอน
การทำงานตามกระบวนการทำงาน
๒.
ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานด้วยความเสียสละ
๓.
ตัดสินใจแก้ปัญหาการทำงานอย่างมีเหตุผล
|
๑. ใช้ทักษะการแสวงหาความรู้
เพื่อพัฒนาการทำงาน
๒. ใช้ทักษะ
กระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน
๓. มีจิตสำนึกในการทำงานและใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติงานอย่างประหยัดและคุ้มค่า
|
๑. อภิปรายขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
๒.
ใช้ทักษะในการทำงานร่วมกันอย่างมีคุณธรรม
๓.
อภิปรายการทำงานโดยใช้ทักษะการจัดการเพื่อการประหยัดพลังงาน ทรัพยากร
และสิ่งแวดล้อม
|
สาระที่ ๒
การออกแบบและเทคโนโลยี
มาตรฐาน ง
๒.๑ เข้าใจเทคโนโลยีและกระบวนการเทคโนโลยี ออกแบบและสร้างสิ่งของเครื่องใช้
หรือวิธีการ ตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม
สิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในการจัดการเทคโนโลยีที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดชั้นปี
|
||
ม.
๑
|
ม.
๒
|
ม.
๓
|
-
|
๑. อธิบายกระบวนการเทคโนโลยี
๒.
สร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการตามกระบวนการเทคโนโลยี อย่างปลอดภัย
ออกแบบโดยถ่ายทอดความคิด เป็นภาพร่าง ๓ มิติหรือภาพฉาย เพื่อนำไปสู่
การสร้างต้นแบบของสิ่งของเครื่องใช้หรือถ่ายทอดความคิดของวิธีการเป็นแบบจำลองความคิดและการรายงานผลเพื่อนำเสนอวิธีการ
๓. มีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการในงานที่ผลิตเอง
๔.
เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม
และมีการจัดการเทคโนโลยีด้วยการลดการใช้ทรัพยากร หรือเลือกใช้เทคโนโลยี ที่ไม่มีผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม
|
๑. อธิบายระดับของเทคโนโลยี
๒.
สร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการ ตาม กระบวนการเทคโนโลยี อย่าง ปลอดภัย ออกแบบโดยถ่ายทอดความคิดเป็นภาพฉาย
เพื่อนำไปสู่การสร้างต้นแบบและแบบจำลองของสิ่งของเครื่องใช้หรือถ่ายทอดความคิดของวิธีการเป็นแบบจำลองความคิดและการรายงานผล
|
สาระที่ ๓
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มาตรฐาน ง
๓.๑ เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล
การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา
การทำงานและอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณธรรม
ตัวชี้วัดชั้นปี
|
||
ม.
๑
|
ม.
๒
|
ม.
๓
|
๑. อธิบายหลักการทำงาน บทบาทและประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
๒. อภิปราย ลักษณะสำคัญ และผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
๓. ประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
|
๑. อธิบายหลักการเบื้องต้นของ
การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์
๒. อธิบายหลักการ และวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
๓. ค้นหาข้อมูล และติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม
๔. ใช้ซอฟต์แวร์ในการทำงาน
|
๑. อธิบายหลักการทำโครงงานที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
๒. เขียนโปรแกรมภาษาขั้นพื้นฐาน
๓. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองานในรูปแบบที่เหมาะสมกับลักษณะงาน
๔. ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานจากจินตนาการหรืองานที่ทำในชีวิตประจำวัน
ตามหลักการทำโครงงานอย่างมีจิตสำนึกและ ความรับผิดชอบ
|
สาระที่ ๔ การอาชีพ
มาตรฐาน ง
๔.๑ เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น มีประสบการณ์
เห็นแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ
มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
ตัวชี้วัดชั้นปี
|
||
ม.
๑
|
ม.
๒
|
ม.
๓
|
๑. อธิบายแนวทางการเลือกอาชีพ
๒. มีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ
๓. เห็นความสำคัญของการสร้างอาชีพ
|
๑.
อธิบายการเสริมสร้างประสบการณ์อาชีพ
๒.
ระบุการเตรียมตัวเข้าสู่อาชีพ
๓.
มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพที่สนใจ
|
๑.
อภิปรายการหางานด้วยวิธีที่หลากหลาย
๒. วิเคราะห์แนวทางเข้าสู่อาชีพ
๓. ประเมินทางเลือกในการประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับความรู้ความถนัดและความสนใจของตนเอง
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น