ประเภทของหลักสูตร 9 หลักสูตร


 1.หลักสูตรสัมพันธ์วิชา


                  เป็นหลักสูตรที่ต้องการปรับปรุงหลักสูตรแบบรายวิชา โดยการนำเนื้อหาวิชาที่มีความคล้ายคลึงกันมาเชื่อมโยงไว้ด้วยกัน หลักสูตรแบบนี้ยังคงเอกลักษณ์ของวิชาอยู่เช่นเดิม การสอนเน้นครูเป็นศูนย์กลาง ทำให้ครูมีโอกาสวางแผนร่วมกัน การวัดผลมุ่งวัดด้านเนื้อหาวิชา ข้อดี คือ นักเรียนได้เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างวิชา  ข้อเสีย คือ หาความสัมพันธ์ของแต่ละวิชาได้ยาก


2.หลักสูตรบูรณาการ


              การผสมผสานเนื้อหาวิชาเข้าด้วยกัน ไม่แยกเป็นรายวิชา การบูรณาการเนื้อหาวิชาจะเน้นที่ตัวเด็กและปัญหาสังคมเป็นสำคัญ การเรียนการสอนจะยึดตัวผู้เรียนและสังคมเป็นศูนย์กลาง ให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรง การวัดผลจะเน้นพัฒนาการทุกด้านโดยเฉพาะความสามารถในการแก้ปัญหา ข้อดี คือ ผู้เรียนมีประสบการณ์ต่อเนื่อง มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ข้อเสีย คือ นักเรียนต้องมีกิจกรรมมาก ครูมักมีปัญหาในการจัดกิจกรรม

3.หลักสูตรกว้าง 


             เป็นรูปแบบหลักสูตรที่มีการผสมผสานความรู้  โดยรวมวิชาต่างๆที่มีเนื้อหาสาระใกล้เคียงกันมารวมกันเป็นหมวดวิชาเดียวกัน  เช่น หมวดวิชาคณิตศาสตร์การจัดการเรียนรู้ยึดครูเป็นศูนย์กลางเน้นการถ่ายทอดเนื้อหาสาระ   

4.หลักสูตรประสบการณ์ 


              เป็นการยึดเอากิจกรรม ความสนใจ และประสบการณ์แวดล้อมมาเป็นแนวทางเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง ให้ความสำคัญกับการพัฒนาตัวผู้เรียนมากกว่าการท่องจำ ได้แนวคิดมาจากปรัชญาพิพัฒนาการ ข้อเสีย คือ ผู้เรียนอาจได้สาระวิชาน้อย เพราะเน้นการทำกิจกรรมมาก

5.หลักสูตรรายวิชา 


               เป็นหลักสูตรแบบเก่าแก่ที่สุด ได้รับอิทธิพลมาจากปรัชญาการศึกษาแนวสารัตถนิยมและ  นิรันตรนิยม เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาเป็นหลัก ต้องการให้ผู้เรียนได้เนื้อหาวิชาความรู้มากๆ ใช้วิธีการบรรยาย เน้นครูเป็นศูนย์กลาง  วิธีการประเมินผลใช้การวัดความจำเป็นส่วนใหญ่ หลักสูตรแบบนี้เน้นการสอนหนังสือมากกว่าสอนคน ข้อดี คือ ประหยัดเวลา สะดวกต่อการสอนของครู เหมาะต่อการสอนติวเพื่อสอบเข้าหรือบรรจุทำงาน ข้อเสีย  คือ ผู้เรียนไม่มีส่วนร่วมในการเรียน ทำให้ไม่มีความกระตือรือร้น

6.หลักสูตรแกน 

                  เป็นการผสมผสานเนื้อหาวิชาที่มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์ชีวิตของผู้เรียน หลักสูตรนี้กำหนดวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นศูนย์กลาง วิชาแกนจะเน้นการผสมผสานความรู้ซึ่งเรียกว่า บูรณาการในการสอน(Integration) ได้แนวคิดมาจากปรัชญาปฏิรูปนิยม  ข้อดี คือ มีการผสมผสานเนื้อหาวิชา

 7.หลักสูตรแฝง 


                    หลักสูตรที่ซ่อนอยู่ภายใต้หลักสูตรที่เราศึกษา ซึ่งจะแฝงอยู่ในหลักสูตรหลัก และกิจกรรมต่างๆที่เราปฏิบัติ โดยผู้เรียนจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยไม่รู้ตัว เพราะเกิดความเคยชินในชั้นเรียนหรือจากที่บ้าน

8.หลักสูตรเกลียวสว่าน 


                   การเจริญงอกงามขึ้นอยู่กับการฝึกใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาที่ได้มาจากประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนมากกว่าจากปัญหาที่กำหนดให้จากภายนอก  และในขณะที่ผู้เรียนฝึกใช้สติปัญญากับการแก้ปัญหาเหล่านี้  เขาจะได้ความคิดใหม่ๆ  และพลังในการทำงาน  ซึ่งจะเป็นฐานสำหรับแก้ปัญหาอื่นๆ  อีกต่อไป  ในการปฏิบัติเช่นนั้นผู้เรียนจะเข้าใจถึงความสำคัญระหว่างกันของความรู้ในสาขาต่างๆ  และการประยุกต์ความรู้ไปใช้ในเชิงสังคมได้กว้างขวางขึ้น  กระบวนการจึงเป็นเสมือนเกลียวสว่านที่มีลักษณะต่อเนื่องและรับช่วงกันไป 

9.หลักสูตรสูญ 



                 เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้มีปรากฏอยู่ให้เห็นในแผนการเรียนรู้ และเป็นสิ่งที่โรงเรียนไม่ได้สอน เขาได้อธิบายถึงความเชื่อของเขาในเรื่องนี้ว่า สิ่งที่ไม่ปรากฏอยู่ในตัวหลักสูตรและสิ่งที่ครูไม่ได้ โดยให้เหตุผลว่า ความรู้หรือการขาดสิ่งที่ควรจากรู้ไม่ได้เป็นแต่เพียงความว่างเปล่าที่หลายคนอาจคิดว่าไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ใด  แต่โดยความเป็นจริงแล้ว การขาดความรู้ดังกล่าวย่อมมีผลกระทบที่สำคัญมาก ในแง่ที่ทำให้ผู้เรียนขาดทางเลือกที่เขาอาจนำไปใช้แก้ปัญหาและพัฒนาชีวิตของเขาได้ นั้นก็คือ  การขาดความรู้บางอย่างไปอาจทำให้ชีวิตของคนๆ หนึ่งขาดความสมบูรณ์ได้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น