หลักสูตรบูรณาการ
หลักสูตรบูรณาการเป็นหลักสูตรที่พัฒนามาจากหลักสูตรกว้างโดยนำเอาเนื้อหาของวิชาต่างๆมาหลอมรวมทำให้เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละวิชาหมดไปการผสมผสานเนื้อหาของวิชาต่างๆเข้าเป็นเนื้อเดียวกันทำให้หลายวิธีซึ่งจะได้ชี้ให้เห็นต่อไปอย่างไรก็ตามที่มีการจัดหลักสูตรบูรณาการขึ้นไม่ใช่เพียงแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องของหลักสูตรรายวิชาเท่านั้นมีเหตุผลและความคิดพื้นฐานซึ่งสนับสนุนอยู่ด้วยจะขออธิบายให้ทราบโดยสังเขปดังต่อไปนี้
           1. เหตุผลและพื้นฐานความคิด
1.1เหตุผลทางจิตวิทยาและวิชาการ
1.2เหตุผลทางสังคมวิทยา
1.3เหตุผลทางการบริหาร
การผสมผสานวิชาเพื่อให้ได้หลักสูตรบูรณาการทำได้หลายวิธีหลายรูปแบบดังนั้นการตีความหมายของหลักสูตรจึงทำได้อยากอย่างไรก็ตามสิ่งที่เห็นเด่นชัดประการหนึ่งก็คือหลักสูตรนี้ ก้าวข้ามขั้นจากวิธีการที่รวมวิชาเข้าด้วยกันแบบธรรมชาติที่ยังทิ้งร่องรอยของวิชาเดิมไว้แต่เป็นการหลอมรวมในลักษณะที่เอกลักษณ์ของวิชาเดิมไม่คงเหลืออยู่เลย ดังนั้นความรู้หรือทักษะที่ผู้เรียนได้รับจึงเกิดจากการเรียนรู้รายวิชาในขณะเดียวกัน
หลักสูตรบูรณาการคือหลักสูตรที่โครงสร้างของเนื้อหาวิชามีลักษณะเป็นสหวิทยาการ(Inter   disciplinary) มีการผสมผสานอย่างกลมกลืนแนบแน่นระหว่างองค์ประกอบการเรียนรู้ทุกด้านอันได้แก่พุทธิพิสัยจิตพิสัยและทักษะพิสัยและมีกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นสหวิทยาการ (Inter-disciplinary Learning) ด้วย
หลักสูตรบูรณาการที่มีใช้อยู่ในประเทศต่างๆในเอเชียมีทั้งที่เป็นหลักสูตรบูรณาการเต็มรูปแบบและไม่เต็มรูปแบบ มีหลายประเทมีหลายศที่เห็นว่่าวิชาประเภททักษะเช่นคณิตศาสตร์และภาษาถ้าจะจัดการเรียนการสอนให้เกิดผลดีควรจัดหสูตรแบบรายวิชาหรือหลักสูตรกว้าง
       2. ลักษณะของหลักสูตรบูรณาการที่ดี
ในการผสมผสานวิชาหรือสาขาวิชาต่างๆเพื่อให้ได้หลักสูตรบูรณาการนั้นถ้าจะให้ดีจริงๆนักพัฒนา หลักสูตรจะต้องพยายามให้เกิดบูรณาการในลักษณะต่อไปนี้โดยครบถ้วนคือ
 1  บูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้แต่เดิมเมื่อสภาพและปัญหาสังคมยังไม่สลับซับซ้อนและปริมาณเนื้อหาก็ยังไม่มีมากนักการเรียนรู้ซึ่งใช้วิธีการถ่ายทอดความรู้อย่างง่ายๆเช่นการบอกเล่าการบรรยายและการท่องจำอาจทำได้โดยไม่มีปัญหาอะไรในกรณีนี้ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับกระบวนการเรียนรู้เกือบไม่มีอยู่เลยและการเรียนรู้ก็นับว่ามีประสิทธิภาพพอสมควรแต่ในปัจจุบันปริมาณความรู้มีมากสภาพและปัญหาสังคมสลับซับซ้อนการเรียนรู้จะกระทำอย่างเดิมย่อมไม่ได้ผลดีถ้าจะให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพเราจำเป็นต้องให้กระบวนการเรียนรู้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความรู้ทั้งนี้หมายความว่าผู้เรียนจะต้องทราบว่าตนจะแสวงหาความรู้ได้อย่างไรและด้วยกระบวนการอย่างไร
 2 บูรณาการระหว่างพัฒนาการทางความรู้และพัฒนาการทางจิตใจมีผู้กล่าวตำหนิว่าการศึกษามักจะให้ความเอาใจใส่ต่อการพัฒนาจิตใจน้อยไปคือมุ่งในด้านพุทธิพิสัยอันได้แก่ความรู้ความคิดและการแก้ปัญหามากกว่าด้านจิตพิสัยคือ 7 คติค่านิยมความสนใจและความสุนทรียภาพซึ่งตามความเป็นจริงแล้วทั้งพุทธิพิสัยและจิตพิสัยก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันและเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออกเพราะการเรียนรู้วิชาการหรือทักษะในด้านใดด้านหนึ่งโดยปราศจากความรู้สึกในคุณค่าของสิ่งที่เรียนย่อมเป็นไปไม่ได้ในทางกลับกันถ้าผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่สร้างความรู้สึกพึงพอใจและประทับใจก็จะมุ่งมั่นในการเรียนและเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเหตุนี้การสร้างบูรณาการระหว่างความรู้และจิตใจจึงเป็นสิ่งจำเป็น
3 บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำการสร้างสหสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการกระทำมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าระหว่างความรู้และจิตใจโดยเฉพาะในด้านจริยศึกษาการเรียนรู้เรื่องค่านิยมและการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเลือกค่านิยมที่เหมาะสมจะปรากฏผลดีหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับพฤติกรรมหรือการแสดงของผู้เรียน
 4 บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียนสิ่งหนึ่งที่จะพิสูจน์ว่าหลักสูตรดีหรือไม่ดีคือผลที่เกิดแก่คุณภาพของชีวิตผู้เรียนด้วยเหตุนี้การบูรณาการวิชาต่างๆในหลักสูตรเราจึงต้องแน่ใจว่าสิ่งที่สอนในห้องเรียนนั้นมีความหมายและมีคุณค่าต่อชีวิตของผู้เรียนไม่ว่าผู้เรียนจะอยู่ที่ใด
5 บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆถ้าเรายอมรับว่าบูรณาการระหว่างความรู้กับจิตใจและระหว่างความรู้กับการกระทำเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญและเป็นสิ่งที่สามารถทำได้เราก็ย่อมจะมองเห็นความจำเป็นและความสำคัญของการบูรณาการวิชาต่างๆเข้าด้วยกันซึ่งอาจทำได้โดยนำเอาเนื้อหาของวิชาหนึ่งมาเสริมอีกวิชาหนึ่งเพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้และเกิดเจตคติตามที่ต้องการหรือโดยกำหนดปัญหาหรือความต้องการของผู้เรียนเป็นหัวข้อแล้วกำหนดหลักสูตรหรือโปรแกรมการเรียนการสอนขึ้นโดยอาศัยเนื้อหาของหลายๆวิชามาช่วยในการแก้ไขปัญหานั้น
      3.  รูปแบบของบูรณาการ
หลักสูตรบูรณาการมี 3 รูปแบบ
 1 บูรณาการภายในหมวดวิชาคือหลักสูตรกว้างนั้นเป็นหลักสูตรที่ได้มีการนำเอาวิชาหลายๆวิชามารวมกันในลักษณะที่ผสมกลมกลืนแทนที่จะเอาเนื้อวิชามาเรียงลำดับกันเฉยๆ เช่นในวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไปได้มีการนำเอาเนื้อหาวิชาฟิสิกส์เคมีชีวะมารวมกัน
 2 บูรณาการภายในหัวข้อและโครงการหลายประเทศในเอเชียนิยมใช้วิธีการแบบนี้คือการนำเอาความรู้ทักษะและประสบการณ์ของวิชาหรือหมวดวิชาตั้งแต่ 2 วิชาหรือหมวดวิชาขึ้นไปมาผสมผสานในลักษณะที่เป็นหัวข้อหรือโครงการซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้เรียนและในแต่ละหัวข้อจะมีการแบ่งเป็นหน่วยการเรียนรู้ด้วยทำให้เกิดหลักสูตรบูรณาการที่เราเรียกว่าหลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม
 3 บูรณาการโดยการผสมผสานปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและของสังคมหลักสูตรที่ใช้การผสมผสานแบบนี้ความจริงก็มีรูปแบบเหมือนอย่าง 2 แบบแรกคืออาจผสมผสานภายในหมวดวิชาหรือภายในหัวข้อและโครงการก็ได้สิ่งที่แตกต่างออกไปคือหัวข้อหรือหน่วยการเรียนหรือโครงการจะเน้นการแก้ปัญหาชีวิตประจำวันของผู้เรียน
ในการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาข้างต้นนี้ผู้เรียนจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้จากวิทยาการต่างๆหลายสาขารวมทั้งต้องมีทักษะที่จำเป็นในการแก้ปัญหาด้วยการเรียนรู้ที่มีลักษณะเป็นบูรณาการเนื่องจากต้องผสมผสานวิชาต่างๆในการแก้ปัญหาสิ่งที่ปรากฏชัดในการเรียนรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น